เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล

เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport)

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่สนทนา ก็ช่วยให้เขารู้สึกอยากคุยด้วย อุ่นใจ ประทับใจ อยากบอกเล่าเรื่องราวของตนให้เราฟัง ในการทำงาน ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยให้ยินดี/เต็มใจที่จะช่วยเหลือ เกื้อกูล ระหว่างกัน รวมถึงรับฟังความคิดเห็น ไอเดียต่างๆ เพิ่มขึ้น ในด้านงานขาย หากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ลูกค้ารู้สึกประทับใจหรือชอบ โอกาสที่จะโน้มน้าวแล้วปิดการขายก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งกับคนที่เพิ่งรู้จัก หรือคนที่รู้จักกันแล้วแต่อยากทำให้ความสัมพันธ์ดียิ่งขึ้น  

วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

  1. เรียกชื่อคู่สนทนา คนเราล้วนต้องการเป็นที่ยอมรับและจดจำได้ ดังนั้นการจำชื่อได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  2. ยิ้ม รอยยิ้มจากใจช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นมิตรและน่าเข้าหา ถ้าคุณเป็นคนยิ้มยาก ให้ฝึกยิ้มบ่อยๆ เช่น ยิ้มให้กับตัวเองในกระจก ฝึกทักทายและยิ้มให้กับคนที่เจอในชีวิตประจำวัน
  3. สบตาระหว่างที่ฟังและพูด การสบตาคู่สนทนาช่วยให้เขารู้สึกว่าเราใส่ใจ และตั้งใจฟังเขาอยู่
  4. เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจ ไม่พูดแทรก มีการพยักหน้าหากเห็นด้วยเป็นระยะๆ มีการทวนคำสำคัญๆ หากมีคำถาม ให้ถามหลังจากที่คู่สนทนาเล่าจบแล้ว ไม่พูดแทรก/ขัดจังหวะขณะที่คู่สนทนาพูดอยู่
  5. ท่านั่งที่ผ่อนคลาย เช่น นั่งเอนลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย (เข้าหาคู่สนทนา) ไม่กอดอก เป็นต้น  
  6. คุยในเรื่องที่มีความคล้ายกัน คนเรามักชอบคนที่มีความเหมือนกันเรา เช่น จบจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เป็นพี่คนโตเหมือนกัน ชอบกีฬาชนิดเดียวกัน เป็นต้น
  7. ใช้ภาษาที่คล้ายๆ กัน เช่น พูดคุยแบบกันเอง ใช้ศัพท์เทคนิค เป็นต้น
  8. จริงใจ และจากใจ ข้อนี้สำคัญมาก คือ การทำในแบบที่เป็นคุณ ออกมาจากใจ ไม่แสร้งทำ 

 

ในช่วงแรกของการสนทนา คู่สนทนาจะยังไม่เปิดใจ หรือยังไม่ไว้ใจมากนัก หลังจากที่เราสร้างความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคดังกล่าว พอทำไปสักระยะหนึ่งให้สังเกตภาษากายของคู่สนทนา หากเขามีภาษากายตามรายละเอียดข้างล่าง แสดงว่ามีสัญญาณว่าคู่สนทนาเปิดใจรับ ไว้ใจ วางใจ ในมิตรภาพที่เกิดขึ้น ก็สามารถนำเสนอไอเดีย ข้อคิดเห็น ขอความช่วยเหลือ หรือนำเสนอสินค้าได้

 

ภาษากายที่บ่งบอกว่าคู่สนทนารู้สึกดีกับเราแล้ว

  • ยิ้มตอบและสบตาเป็นระยะๆ
  • ถามคำถาม
  • พยักหน้าเห็นด้วย
  • เอนลำตัวมาข้างหน้า
  • น้ำเสียงนุ่มนวลขึ้น
  • ภาษากายที่เปิด เช่น เริ่มต้นอาจเป็นท่ากอดอก พอคุยไปสักระยะแล้วเขาเอาแขนที่กอดอกออก  

 

อ.ก้อย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านนำไปใช้แล้วพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance coach and trainer)

 

E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)


  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...

  • การฟังอย่างเข้าใจและประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
    การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...

  • ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง
    ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...

  • การฟังอย่างลึกซึ้ง
    6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...

  • เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ WFH
    เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...

  • อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ
    อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...

  • เทคนิคการชมลูกน้อง
    การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...

  • การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์แบบโค้ช
    การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...
Visitors: 68,723