6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล

6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

 

การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันดีขึ้น แต่หากฟังได้ไม่ดีพอจะทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง และความสัมพันธ์แย่ลงได้ค่ะ แล้วเราจะทำอย่างไรให้เราฟังได้ดีขึ้น ลึกซึ้งขึ้น วันนี้ อ.ก้อย มีเทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้งมาแบ่งปันค่ะ 

การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) คือ การฟังที่ใส่ใจฟังผู้พูดอย่างแท้จริง เหมือนว่ามีแค่ผู้พูดอยู่ด้วยกับเราเท่านั้น เป็นการฟังโดยปราศจากการตัดสิน ฟังลึกกว่าแค่คำพูด ได้ยินในสิ่งที่ผู้พูดไม่ได้พูด เช่น ความรู้สึก อารมณ์ ความต้องการ คุณค่า ความเชื่อ เป็นต้น

การฟังอย่างลึกซึ้งจะช่วยให้ผู้พูดเปิดเผยตัวเองมากขึ้น เล่าเรื่องราวลึกขึ้น และยังช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (building rapport) อีกด้วยค่ะ

เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง

1. ฟังด้วยความสนใจใคร่รู้

   มีความสนใจใคร่รู้ อยากเข้าใจผู้พูดมากขึ้น เปิดกว้างไม่ตัดสิน เข้าใจเขาตามความเป็นจริง เพราะคนแต่ละคนหล่อหลอมมาด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มีความเชื่อ ทัศนคติ และให้คุณค่าในสิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันค่ะ ถ้าเราฟังเพื่อเข้าใจเขา เราจึงจะรับรู้ตามความเป็นจริง

2. ฟังด้วยสติ

   มีสติอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับผู้พูดตลอด อยู่ทั้งกาย ใจ สมอง ไม่เผลอคิดเรื่องอื่น ไม่เผลอคิดแทนว่าเขาควร... หรือตัดสินว่าเขาเป็นแบบนั้นแบบนี้

   การมีสติที่มากพอจะช่วยให้เรารู้เท่าทันตนเองว่าเผลอคิด เผลอตัดสิน หรือมีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไรขณะที่ฟัง เช่น อึดอัด เศร้า อยากพูดแทรก เป็นต้น แล้วสามารถดึงตัวเองกลับมาให้เป็นกลางในการรับฟัง และอยู่กับผู้พูดอย่างแท้จริงค่ะ 

3. ฟังด้วยตา

   ระหว่างฟังมีการสบตาผู้พูดตลอด และคอยสังเกตภาษากายของผู้พูด เช่น สีหน้า แววตา ท่าทาง ตอนเริ่มสนทนาเป็นอย่างไร ระหว่างที่สนทนามีภาษากายอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป

4. ฟังด้วยหู

   ฟังและสังเกตน้ำเสียงของผู้พูดว่าเขามีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร เช่น ช่วงแรกจังหวะการพูดเร็ว น้ำเสียงบ่งบอกถึงความกังวลใจ พอคุยไปสักพักจังหวะการพูดเริ่มช้าลง น้ำเสียงมั่นใจมากขึ้น เป็นต้น

5. ฟังด้วยใจ

   เมื่อเรามีสติในการฟัง เราสามารถอยู่กับคนตรงหน้าอย่างแท้จริงแล้ว ไม่เผลอใจลอย/เผลอคิด ไม่ตัดสิน เราสามารถใช้ใจของเรารับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดได้ค่ะ  

6. ฟังด้วยภาษากาย

   ระหว่างที่ฟัง เราพยักหน้าเป็นระยะๆ ให้รู้ว่าเราฟังเค้าอยู่ เขาก็จะเปิดใจที่จะพูดเพิ่มขึ้นค่ะ

 

   ลองสำรวจดูว่า ณ ตอนนี้ การฟังของเราในแต่ละข้อเป็นอย่างไร แล้วค่อยๆ ฝึกเพิ่มไปทีละข้อๆ ทักษะการฟังและการสื่อสารของเราก็จะพัฒนาขึ้นค่ะ ชวนให้นำไปใช้กับคนในครอบครัวและในการทำงานค่ะ จะส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้นและความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่นในที่ทำงานดีขึ้นด้วยค่ะ

 

   อ.ก้อย เป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการเรียนรู้และฝึกฝนนะคะ

 

   หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance Coach and Trainer)


E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462


  • เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
    เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่...

  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...

  • การฟังอย่างเข้าใจและประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
    การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...

  • ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง
    ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...

  • เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ WFH
    เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...

  • อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ
    อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...

  • เทคนิคการชมลูกน้อง
    การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...

  • การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์แบบโค้ช
    การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...

  • การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR model
    การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีด...
Visitors: 79,083