4 ทักษะที่สำคัญในยุค AI

 4 ทักษะที่สำคัญในยุค AI (Artificial Intelligence; ปัญญาประดิษฐ์)

 

     ปีนี้ ค.ศ.2025 กระแสของ AI มาแรงขึ้นเรื่อยๆ ผู้เขียนเองก็มีเพื่อนทักมาถามว่าใช้ Chat GPT เยอะไหม ใช้อะไรบ้าง HR ก็สอบถามว่ามีครูสอน Chat GPT ท่านไหนแนะนำบ้าง ในขณะที่เจอผู้เข้าอบรมก็จะพูดถึงว่าต้องปรับตัวให้เข้ากับเด็กๆ รุ่นใหม่ ไม่งั้นคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง บทความนี้เลยอยากจะแบ่งปันเรื่องทักษะสำคัญในยุคปัจจุบัน หรือยุค AI (ยุคที่ AI มาแรง) ค่ะ
     ในปัจจุบันที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงความหลากหลายของมุมมองความคิดของผู้คน ทักษะที่สำคัญ 4 ด้านที่เราควรเชี่ยวชาญ ได้แก่
 
 
 
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์และคิดเชิงระบบ (Critical Thinking & System Thinking)
     ทักษะการคิดวิเคราะห์ คือ ความสามารถในการคิดหาเหตุผลและที่มาที่ไปของสิ่งต่างๆ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อมูลที่ได้มาสมเหตุสมผลไหม จริงไหม ส่วนการคิดเชิงระบบ คือ ความสามารถในการเห็นความเชื่อมโยงเชิงระบบ เห็นภาพใหญ่ เห็นความเชื่อมโยง สถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบ 
 
กิจกรรมฝึกทักษะคิดวิเคราะห์ และคิดเชิงระบบ เช่น การเล่น Sudoku หมากฮอส หมากรุก เล่นเกมวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น
 
ตัวอย่างคำถามที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และคิดเชิงระบบ 
  • ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
  • ผลกระทบของสิ่งนี้หรือการตัดสินใจนี้คืออะไร
  • ถ้าจะปรับปรุงสิ่งนี้ จะทำอย่างไรได้บ้าง
 
2. ทักษะด้านการปรับตัว (Adaptability Skill)
      ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค นโยบายของภาครัฐ และองค์กร รวมถึงเนื้องานที่เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด (เช่น สถานการณ์โควิด แผ่นดินไหว การเมือง เป็นต้น) ทักษะด้านการปรับตัวเป็นทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้เราสามารถปรับตัวเองเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ ปรับตัวเองให้การเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสและประโยชน์ต่อตนเอง แทนที่ไม่ปรับตัว จนเจอวิกฤติบังคับให้ปรับค่ะ
 
กิจกรรมฝึกทักษะด้านการปรับตัว ได้แก่ การทำอะไรที่ไม่เคยทำ เช่น การเดินทางด้วยวิธีการใหม่ๆ เช่น เดิมขับรถ ก็เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแทน เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ดนตรี ร้องเพลง ศิลปะ เดินป่า ทำงานจิตอาสา ทานอาหารของประเทศที่ไม่เคยทาน เป็นต้นค่ะ
 
ตัวอย่างคำถามที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการปรับตัว
  • วันนี้ฉันได้ลองทำอะไรใหม่ๆ บ้างนะ
  • วันนี้ฉันได้เจอเหตุการณ์อะไรที่ไม่เป็นไปตามที่คิด และฉันรับมืออย่างไร อะไรที่ฉันชอบในตัวเอง และครั้งหน้าฉันจะรับมือให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
  • ฉันได้เรียนรู้อะไรกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด 
  • จากการลองทำอะไรใหม่ๆ ฉันได้เรียนรู้อะไรหรือได้ข้อคิดอะไร
 
 
3. ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
     การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เช่น การประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom/MS Team/Google Meet การใช้เครื่องมือ AI เช่น Chat GPT, Copilot ช่วยให้เราสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การวางแผนการเดินทาง การวิเคราะห์ข้อมูล การทำแผนการตลาดและการทำสื่อใน social media ต่างๆ การทำ Content ด้วย Canva เป็นต้น
ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญเหมือนทักษะการพิมพ์ดีด การใช้โปรแกรม Microsoft Word Excel PowerPoint หรือทักษะภาษาอังกฤษในสมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แม้กระทั่งวัยคุณพ่อคุณแม่ของผู้เขียนเองก็ยังต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิตอล เช่น ไม่กด link ต่างๆ จาก SMS หรือสังเกต URL ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม ป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล เป็นต้นค่ะ 
 
กิจกรรมฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 
  • การเรียนรู้ผ่าน YouTube และคอร์สเรียนต่างๆ
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนว่าได้ใช้เทคโลยีด้านนี้อะไรบ้าง และใช้ทำอะไร เพื่อค้นหาไอเดียให้ตัวเอง
  • ลองทำจริง เช่น สมัคร Canva แบบใช้ฟรี หรือ Chat GPT 
 
ตัวอย่างคำถามที่ช่วยพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  • ฉันมีมุมมองอะไรที่ต่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิตัล มุมมองนี้ส่งเสริมหรือขัดขวางดารพัฒนาตนเองในด้านนี้
  • อยากทำงานหรือเรื่องใด ให้ได้ปริมาณมากขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือรวดเร็วขึ้นบ้าง และมีเครื่องมืออะไรบ้างที่ช่วยเรื่องนี้
  • มีคนใกล้ตัวคนไหนที่เราสามารถเรียนรู้/สอบถามได้บ้าง เพื่อให้เริ่มต้นได้ทันที
  • ใครบ้างที่เก่งเรื่องนี้ ที่มีคนติดตามเยอะ และสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย
 
 
4. ทักษะด้านความฉลาดอารมณ์ (Emotional Intelligence)
     ความฉลาดอารมณ์ คือ ความสามารถในการรับรู้และจัดการอารมณ์ของตนเอง รับรู้อารมณ์ผู้อื่น และบริหารตนเอง เพื่อบริหารอารมณ์ผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความท้าทายและมีความสัมพันธ์ที่ดี ปัจจุบันผู้คนมีความหลากหลายทั้งด้าน Generation มุมมอง ความคิด ประสบการณ์ ความเห็นที่ไม่เหมือนกันมักนำไปสู่ความขัดแย้ง ทักษะนี้จึงเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญ เพื่อบริหารตนเอง และบริหารผู้อื่นให้ทำงานร่วมกันและอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างได้อย่างสร้างสรรค์ค่ะ 
 
กิจกรรมฝึกทักษะด้านความฉลาดอารมณ์ ได้แก่ การฝึกสังเกตอารมณ์ของตนเอง การฝึกสติ โยคะ การรับฟังผู้อื่น (ฝึกฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ลดการตัดสินหรืออคติที่มีต่อผู้อื่น) การทำงานจิตอาสาร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
 
ตัวอย่างคำถามที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านความฉลาดอารมณ์ 
  • ตอนนี้ฉันรู้สึกอย่างไร
  • วันนี้ฉันรับมือกับความหงุดหงิดได้ดีไหม เป็นอย่างไรบ้าง
  • ตอนผู้อื่นพูด ฉันได้ฟังจริงๆ เพื่อที่จะเข้าใจเขาไหม
 
 
     ทักษะทั้ง 4 นี้จะช่วยให้เรารับมือกับโลกที่หมุนเร็วนี้อย่างมั่นใจ มั่นคง เติบโต และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ค่ะ 
และสิ่งสำคัญ คือ ไม่ใช่แค่รู้…แต่ “ลงมือฝึกฝน ลงมือทำ” จนกลายเป็นทักษะติดตัวที่ใช้งานได้จริงค่ะ
 
สุดท้ายนี้ชวนให้เลือก 1 ทักษะที่สร้าง impact กับท่าน ไปฝึกในสัปดาห์นี้ดูนะคะ แล้วสังเกตว่าท่านทำอะไรได้ดี ชื่นชมตัวเองในเรื่องใด และอยากทำอะไรให้ดีขึ้นค่ะ
 
ขออวยพรให้ทุกท่านสนุกกับการเรียนรู้ การลงมือทำ และเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีขึ้นในทุกวันและทันกับโลกค่ะ
 
ด้วยรักและปรารถนาดี
 
อ.ก้อย
 

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance Coach and Trainer)


E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462


  • 38 ความสำคัญและองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม.jpg
    ความสำคัญและองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม ช่วงนี้ก้อยจัดอบรมให้กับหลายๆ แห่ง พบว่าเมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป เป็นแบบ Hybrid Working (ส่วนใหญ่ Work From Home และบางวันเข้าอ...

  • การสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วย PERMA model
    การสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ในการทำงานชีวิตของเราคงมีทั้งสุขและทุกข์ปนกัน แล้วจะทำอย่างไรให้เรายังคงรักษาใจตนเองให้มีแรงบันดาล หรือ Passion ในการทำงาน วันนี้ ...

  • การโค้ชคืออะไร และการโค้ชสำคัญกับหัวหน้าอย่างไร
    การโค้ช คือ อะไร และสำคัญกับหัวหน้างานอย่างไร เราคงเคยได้ยินคำว่าโค้ชอยู่บ่อยครั้ง เช่น โค้ชนักกีฬา โค้ชการเงิน ไลฟ์โค้ช (โค้ชชีวิต) จริงๆ แล้วการโค้ชคืออะไร และสำคัญอย่างไร ...

  • หัวหน้างานกับการบริหารทีมงานด้วย TAPS model
    หัวหน้างานกับการบริหารทีมงานด้วย TAPS Model หัวหน้างานนอกจากมีหน้าที่ทำงานส่วนของตนเองแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารทีมงานให้งานของทีมสำเร็จลุล่วงด้วยดี ในการบริหารทีมงาน หัว...

  • การทำงานอย่างมืออาชีพ
    การทำงานอย่างมืออาชีพ ในการทำงาน คนส่วนใหญ่ก็อยากที่จะเก่งขึ้น และเป็นมืออาชีพในการทำงานกันมากขึ้น องค์กรเองก็ต้องการคนที่มีความเป็นมืออาชีพในการทำงานมากขึ้นเช่นกันวันนี้ อ.ก้อยจะ...

  • 14 เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ.jpg
    เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากให้หัวหน้าประทับใจในผลงานและสนับสนุนท่าน หรือหากท่านอยากให้เพื่อนร่วมงานยอมรับในความสามารถและช่วยเหลือสนับสนุนท่าน หรือท่...

  • เทคนิคการทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
    7 เทคนิค Work From Home อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วง Work From Home หรือช่วงทำงานที่บ้าน เรามีเวลามากขึ้นจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง หากเราจัดสรรเวลาหรือสิ่งแวดล้อมได้ดีจะช่วยให้...

  • ออกแบบชีวิตด้วยเป้าหมายเชิงบูรณาการ
    ออกแบบชีวิตด้วยเป้าหมายเชิงบูรณาการ หากท่านรู้สึกว่าชีวิตมีหลายอย่างที่ต้องรับผิดชอบ ไม่รู้ว่าจะจัดสรรอย่างไรดี หรือรู้สึกว่ายังจัดสรรชีวิตได้ไม่ดี อยากให้เวลากับสุขภาพ ครอบครัว ...

  • สมรรถนะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
    สมรรถนะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ (Leadership competency) ในทุกองค์กร/หน่วยงานล้วนแล้วแต่มีผู้นำ ผู้นำโดยทั่วไป มี 2 แบบ คือ ผู้นำด้วยตำ แหน่ง กับผู้นำที่ไม่ได้มีตำแหน่ง แต่บุคคลนั...

  • คุณสมบัติหัวหน้าที่ลูกน้องรักและทำงานให้เต็มที่
    คุณสมบัติหัวหน้าที่ลูกน้องรักและทำงานให้เต็มที่เมื่อไม่นานมานี้ ก้อยได้ทบทวนชีวิตตนเองที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ เราเป็นลูกน้อง พอทำงานมาสักระยะก็ขึ้นเป็นหัวหน้า และทบทวนถึงห...

  • ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน
    ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน การที่คนเรามีพฤติกรรมแสดงออกที่ต่างกัน มีความสำเร็จในชีวิตที่ต่างกันล้วนมาจากทัศนคติที่ต่างกัน เช่น ถ้าเรามีทัศนคติว่าการได้ทำงานที่ไม่เคยทำ งานใหม่ๆ ค...

  • 5 หลักการพื้นฐานของความสำเร็จ (5 Principles of success)
    5 หลักการพื้นฐานของความสำเร็จ (5 Principles of success) ในการที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องๆ หนึ่ง เรามักตั้งเป้าหมายที่เราอยากได้ แล้วลงมือทำ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายนั้นๆ บางครั...

  • การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
    การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Time Management) เวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีคุณค่ามากที่สุด ในแต่ละวันเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แล้วเราจะบริหารเวลาให้มีประสิทธิภ...

  • การเริ่มต้นบริหารเวลาแบบง่ายๆ
    การเริ่มต้นบริหารเวลาแบบง่ายๆ สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เป็นยุคที่เราเชื่อมต่อถึงผู้อื่นได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และแต่ละวันก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย จนดูเหมือนว่าเวลา 24 ชั่วโมงจะไม่พอสำหรับเ...
Visitors: 94,326