การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR model

การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล

   ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีดแบคไม่ท้อแท้ และเกิดการปรับปรุงตนเองได้อย่างแท้จริง” เลยอยากมาแบ่งในหัวข้อการให้ฟีดแบคด้วย STAR model ค่ะ

   อ.ก้อย เคยแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ในแง่ความสำคัญ เมื่อไรที่ควรทำ และเริ่มต้นอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์แบบโค้ช

   ในบทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับข้อควรรู้ของการให้ฟีดแบค และเน้นไปที่โครงสร้างการให้ฟีดแบคด้วย STAR model พร้อมตัวอย่าง เพื่อให้ท่านนำไปใช้ได้เลยค่ะ

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการให้ฟีดแบค

  • การให้ฟีดแบค ควรให้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านบวก (ชื่นชม) และด้านลบ (เพื่อการพัฒนา) หากให้แต่ด้านลบ เพื่อการพัฒนา จะทำให้ทีมงานรู้สึกท้อแท้ได้ ว่าตนเองทำงานไม่ดี ไม่เคยได้รับการยอมรับจากเจ้านายเลย การให้ฟีดแบคด้านบวก หากเราทำอย่างถูกต้องจะช่วยสนับสนุนให้ทีมงานทำในสิ่งที่ชมมากยิ่งขึ้น (เพิ่มการทำซ้ำพฤติกรรมที่ดี)
  • ไม่ควรให้ฟีดแบคเชิงบวกและลบในคราวเดียวกัน หากเราชมก่อน แล้วบอกสิ่งที่ให้พัฒนาทันทีในครั้งเดียวกัน ผู้รับฟีดแบคจะไม่ได้รู้สึกว่าได้รับคำชม แนะนำให้แยกกัน ระหว่างการให้ฟีดแบคด้านบวกและด้านลบ แต่เน้นความสม่ำเสมอในการให้ฟีดแบค โดยด้านบวกควรมากกว่าด้านลบ
  • ให้ฟีดแบคด้วยเจตนาที่ดีและด้วยความรัก เมตตา บนความเชื่อว่า ทุกคนล้วนทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้ (ตามความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่มี) 

 

โครงสร้างการให้ฟีดแบคด้วย STAR model

ST Situation/Task สถานการณ์ หรืองาน หรือความท้าทาย หรือปัญหา

A Action พฤติกรรม/การกระทำ

R Result ผลที่เกิดจากการกระทำนั้น

 

ตัวอย่าง 1 การใช้ STAR model ในการให้ฟีดแบคเชิงบวก เพื่อชม

ST Situation/Task สถานการณ์ หรืองาน หรือความท้าทาย หรือปัญหา

A Action พฤติกรรม/การกระทำที่ดี

R Result ผลที่เกิดจากการกระทำนั้น

 

เหตุการณ์ คือ ลูกน้องชื่อ A ทำงานหลังเลิกงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลและทำ presentation เพื่อให้ทีมมีไฟล์สำหรับการประชุมด่วนที่ลูกค้านัดในวันรุ่งขึ้น

ประโยคฟีดแบค พี่ชื่นชม A นะ ที่เมื่อลูกค้านัดประชุมด่วน (ST) A เสียสละเวลาส่วนตัว มาทำไฟล์ present  (A) ทำให้การนำเสนอของทีมผ่านไปได้อย่างราบรื่นและน่าเชื่อถือ (R)

 

ตัวอย่าง 2 การใช้ STAR model ในการให้ฟีดแบคเชิงลบ เพื่อการพัฒนา

ST Situation/Task สถานการณ์ หรืองาน หรือความท้าทาย หรือปัญหา

A Action พฤติกรรม/การกระทำที่อยากให้ทำ (ที่ต่างจากเดิม)

R Result ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ที่จะเกิดจากการพฤติกรรม/การกระทำใหม่นี้

 
 

สถานการณ์ คือ พนักงานชื่อ B มักไม่รับสายโทรศัพท์ ในวันที่ทำงานที่บ้าน ทำให้เพื่อนในทีมไม่สามารถติดต่อได้ และไม่สามารถดำเนินงานต่อได้

ประโยคฟีดแบค ในวันที่ทำงานที่บ้าน (ST) อยากให้รับสายที่ทำงาน หรือหากเห็น missed call ให้รีบโทรกลับ (A) เพื่อให้คนที่ทำงานด้วย สามารถติดต่อได้ งานของทีมจะได้เสร็จตามแพลน (R)

 

ลองนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้ไปใช้ดูนะคะ อาจเริ่มจากการลองเขียนสคริปฟีดแบคของเราก่อนก็ได้ค่ะ จะได้คล่องในการนำไปใช้

ขอให้ทุกท่านสนุกกับการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตนเองนะคะ 

อ.ก้อย 

 
หลักสูตรในองค์กร (in-house training) ที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรการพัฒนาทักษะหัวหน้างาน

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance coach and trainer)

 

E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)


  • เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
    เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่...

  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...

  • การฟังอย่างเข้าใจและประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
    การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...

  • ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง
    ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...

  • การฟังอย่างลึกซึ้ง
    6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...

  • เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ WFH
    เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...

  • อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ
    อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...

  • ทักษะการสื่อสารเชิงบวก
    ทักษะการสื่อสารเชิงบวก(Positive Communication) การสื่อสารเป็นทักษะที่เราใช้ตลอดเวลาเลยค่ะ ไม่ว่าจะในการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว การสื่อสารจะมี 2 ด้านที่สำคัญ คือ การฟัง และการพูด ก...

  • เทคนิคการชมลูกน้อง
    การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...

  • การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์แบบโค้ช
    การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...
Visitors: 80,187