อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ
อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่เป็นตัวขัดขวางให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ วันนี้ อ.ก้อย จะมาบอกเล่าอุปสรรคที่สำคัญอันใหญ่อันนึงเลยค่ะ คือ การตัดสินตีความ
บ่อยครั้งที่เรามีการตัดสินตีความ แล้วสื่อสารสิ่งนั้นออกไปโดยไม่ทันรู้ตัวว่าเราทำแบบนั้น เช่น
•หัวหน้าบอกลูกน้องว่า “คุณทำงานแย่มาก” หรือ “คุณไม่ตั้งใจทำงาน”
•แม่บอกลูกว่า “ลูกดื้อมาก”
•แฟนบอกว่า “เธอไม่เคยใส่ใจฉันเลย”
การสื่อสารแบบตัดสินตีความ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกในทางลบ เช่น ไม่พอใจ โกรธ เสียใจ เศร้าใจ เป็นต้น และทำให้ไม่มีทางออกที่ดีในการสนทนา คนฟังอาจเงียบไม่พูด หรือพูดแต่พูดด้วยอารมณ์เหมือนการเถียงกันมากกว่า แล้วเราจะปรับการสื่อสารของเราอย่างไรให้ไม่เป็นการตัดสินตีความ วันนี้ อ.ก้อย มีตัวช่วยมาให้ 2 อย่างค่ะ คือ
1 การสื่อสารด้วยข้อสังเกต โดยหลัก PLATO
P Person บุคคล เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจากใคร หรือกลุ่มคนกลุ่มไหน
L Location สถานที่ เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน บริเวณไหน
A Action คนที่พูดถึงนั้นทำพฤติกรรมอะไร
T Time เวลา เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน
O Object เหตุการณ์นั้นใคร หรืออะไรเป็นผู้ถูกกระทำ
ตัวอย่าง
หัวหน้าพูดว่า “คุณทำงานแย่มาก” เมื่อเปลี่ยนเป็นข้อสังเกตด้วยหลัก PLATO
P คุณ (ลูกน้อง)
L ทางอีเมล
A ส่งรายงานประจำสัปดาห์
T วันจันทร์ที่ผ่านมา และ 2 สัปดาห์ติดกัน
O หัวหน้าเป็นผู้ถูกกระทำ
เมื่อรวมประโยคใหม่ตามหลัก PLATO จะได้ประโยคสื่อสารแบบข้อสังเกตให้หัวหน้าว่า “คุณส่งรายงานประจำสัปดาห์ให้ผมทางอีเมลในวันจันทร์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดกัน” และอาจพูดเสริมเพิ่มในสิ่งที่ต้องการ เช่น “ผมอยากให้คุณส่งรายงานตามกำหนดการจริงคือทุกวันศุกร์” เป็นต้นค่ะ
จะสังเกตเห็นได้ว่า เมื่อเราเปลี่ยนประโยคจากการตัดสินตีความ เป็นการสื่อสารตามข้อสังเกต ความรู้สึกของคนพูดและคนฟังจะเบาลง คนฟังก็รู้สึกต่อต้านน้อยลง ทำให้การสื่อสารนี้เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์หรือมีทางออกค่ะ
2 การถาม และการฟัง
การถามและการฟังเป็นอีกสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้นค่ะ สิ่งสำคัญในการถาม คือ การอยากเข้าใจมุมมอง หรือความคิดของผู้อื่น หรือเข้าใจโลกในแบบของเขา คำถามปลายเปิดจะช่วยให้เราได้ข้อมูลเพิ่ม คู่สนทนาจะเล่าเรื่องราวของเขาได้มากขึ้น และเมื่อเราได้ฟังก็จะเข้าใจเขามากขึ้น คำถามปลายเปิด ได้แก่ คำถามที่มีคำว่า ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ส่วนคำถามปลายปิด คือ คำถามที่ใช้เพื่อการยืนยัน หรือเช็คความเข้าใจ มักใช้คำว่า ใช่หรือไม่ ใช่ไหม เป็นต้น
ตัวอย่างคำถามปลายเปิดกับบทสนทนาข้อ 1 (“คุณส่งรายงานประจำสัปดาห์ให้ผมทางอีเมลในวันจันทร์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดกัน”) เลือกคำถาม “อะไร” เมื่อนำมารวมกันในการสื่อสาร จะได้ว่า “ผมสังเกตเห็นว่า คุณส่งรายงานประจำสัปดาห์ให้ผมทางอีเมลในวันจันทร์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดกัน เกิดอะไรขึ้นกับคุณ คุณเล่าให้ผมฟังได้นะ เราจะได้มาช่วยกันหาทางแก้”
สิ่งสำคัญในการสื่อสาร คือ การสื่อสารด้วยใจ อย่างเข้าใจ ค่ะ และลองสังเกตดูว่าระหว่างวัน เราสื่อสารแบบตัดสินตีความ หรือแบบข้อสังเกตนะคะ แล้วลองไปปรับใช้ดูนะคะ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการทำงานและการใช้ชีวิต ด้วยการสื่อสารด้วยใจอย่างเข้าใจค่ะ
อ.ก้อย
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)
โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(Performance coach and trainer)
E-mail: tunyaponj@gmail.com
line ID: koytunyapon
Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)
-
เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่...
-
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...
-
การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...
-
ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...
-
6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...
-
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...
-
การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีด...