ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง
ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง
ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่ะ แล้วลองทบทวนดูว่าส่วนใหญ่แล้วเราฟังที่ระดับการฟังแบบไหนนะคะ
การฟัง 5 ระดับ
1 ไม่สนใจฟัง คือ ไม่ได้สนใจที่จะฟัง ฟังผ่านหู
2 แกล้งฟัง คือ ทำเหมือนสนใจฟังอยู่ อาจมีการพยักหน้าหรืออือๆ แต่ไม่ได้ฟังอยู่จริง หากผู้พูดถามอะไรมาก็จะตอบไม่ได้
3 เลือกฟัง คือฟังเฉพาะสิ่งที่เราสนใจ อะไรที่เราไม่สนใจ ก็ปล่อยผ่านไม่ได้ฟัง
4 ฟังอย่างตั้งใจ คือ การฟังเพื่อจับประเด็นเนื้อหาใจความที่ผู้พูดเล่า เช่น การฟังในห้องเรียน ฟังในที่ประชุม
5 ฟังอย่างเข้าใจ คือ การฟังเพื่อเข้าใจคนตรงหน้าอย่างแท้จริง เป็นการฟังโดยไม่ตัดสินผู้พูด ฟังเพื่อเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ มุมมอง ความเชื่อ สิ่งที่ผู้พูดให้ความสำคัญหรือให้คุณค่า
การฟังอย่างเข้าใจนี้อาศัยสติหรือการรู้ตัวเป็นอย่างมาก เพราะหากเรารู้เท่าทันความคิดของเรา เราถึงจะเห็นว่าเราเผลอตัดสิน (judge) ผู้พูดหรือเปล่า เช่น คิดในใจว่า จริงเหรอ โอ๊ยคิดแบบนี้ได้ไง เป็นต้น ถ้าเผลอตัดสินในใจ เราก็ไม่ได้ฟังอย่างเข้าใจเขาจริงๆ แล้วล่ะค่ะ
คงมีคำถามในใจเนอะ ว่าปกติคนเราตัดสินคนอื่นบ่อยเหรอ
คนเราแต่ละคน ล้วนมีความคิด ความเชื่อ คุณค่า ประสบการณ์ที่แตกต่าง แม้กระทั่งพี่น้องกันก็ยังคิดเห็นแตกต่าง ทำให้มุมมองแตกต่าง เรามักคิดว่าสิ่งที่เราคิดถูกต้องเสมอ และมองว่าคนที่คิดไม่เหมือนเราคิดผิด หรือไม่เห็นด้วยกับความคิดเขา (ส่วนใหญ่จะเป็นโดยอัตโนมัติค่ะ)
หากเราฟังโดยมีสติไม่มากพอเราก็จะไม่เห็นว่าเผลอตัดสินเขาไหม แต่หากเรามีสติมากพอ พอเรารับรู้ถึงความคิดที่ตัดสิน หรือความคิดอื่นๆ ที่แวบเข้ามาในหัวเรา เราก็กลับมาฟังคนตรงหน้าต่อ ก็จะช่วยที่อยู่กับคนตรงหน้าอย่างแท้จริงค่ะ
แล้วการฟังอย่างเข้าใจ มีประโยชน์อะไร ทำไมเราถึงต้องฟังล่ะ
ประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
1. ช่วยให้ผู้พูดรู้สึกไว้วางใจและเปิดใจที่จะเล่า
2. ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังดีขึ้น ผู้พูดรู้สึกว่าเราใส่ใจ ให้เกียรติเขา รู้สึกดีต่อเรา
3. เราในฐานะผู้ฟัง เข้าใจผู้พูดและมีความเห็นอกเห็นใจเขามากขึ้น และมีอคติต่อผู้อื่นลดลง
4. ช่วยให้ผู้พูดกล้านำเสนอไอเดียต่างๆ ที่มีประโยชน์ ลองนึกดูนะคะ ถ้าไม่ฟังกันเลย ในที่ประชุมก็จะไม่ค่อยมีคนกล้าแสดงความคิดเห็นอะไรดีๆ เพราะรู้ว่าพูดไปก็ไม่ฟังอยู่ดี เป็นต้นค่ะ
สิ่งสำคัญของการฟัง คือ การฝึกฟังที่ฟังจริงๆ แม้มุมมองจะต่างกัน แต่เราฟังด้วยเจตนาที่อยากเข้าใจเขา เข้าใจโลกแบบมุมมองเขาค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ เห็นว่าส่วนใหญ่เราฟังแบบไหนนะ แล้วจะลองไปฝึกฟังกับใครก่อนดี อาจจะลองฟังคนใกล้ตัวก่อนก็ได้นะคะ คนใกล้ตัวแหละค่ะ แหล่งฝึกที่ดีเลย ^^
เช่น ลองไปถามคุณพ่อคุณแม่ว่าชีวิตวัยเด็กเป็นยังไงก็ได้นะคะ แล้วก็ฟังยาวๆ ห้ามพูดแทรกค่ะ แล้วจะเข้าใจและรักเขามากขึ้นเลยค่ะ
หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการฟังของตนเองเป็นอย่างไร และอยากที่จะฝึกฟังเพิ่มขึ้นนะคะ
ขอบคุณที่ติดตามค่ะ และขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการพัฒนาทักษะการฟังนะคะ
อ.ก้อย
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: 6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)
หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)
โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(Performance Coach and Trainer)
E-mail: tunyaponj@gmail.com
line ID: koytunyapon
Tel: 082-415-1462
-
เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่...
-
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...
-
การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...
-
6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...
-
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...
-
อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...
-
การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีด...